*** หมายเหตุ : ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ ตามหลักเกณฑ์ สคบ.กำหนดให้ร้านทองสามารถหักได้ไม่เกิน 5% จากราคาทองคำแท่งรับซื้อในวันนั้น ๆ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้เฉพาะกรณีซื้อ-ขายร้านเดิมเท่านั้น ***

ร่วมสืบสานประเพณี "ลอยกระทง" 2557

ณ วันที่ 06/11/2557

HTML Editor - Full Version


ร่วมสืบสานประเพณี "ลอยกระทง"
2557

          เนื่องจากวันนี้เป็นวันลอยกระทง หลายท่านคงมีสถานที่ที่อยากไปลอยกระทงกันอยู่ในใจแล้ว จะเป็นที่ไหนก็ขอให้ทุกท่านมีความสุขกันมากๆนะครับ  ผมเชื่อว่าทุกท่านเคยได้เห็นประเพณีการลอยกระทงกันตั้งแต่เด็กๆใช่ไหมครับ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน จนบางครั้งคนรุ่นใหม่อาจจะไม่เข้าใจถึงความหมายของการลอยกระทงว่า ลอยไปเพื่ออะไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร วันนี้ผมก็มีสาระเล็กๆน้อยๆมาฝากกันครับ

ประวัติความเป็นมาวันลอยกระทง

          วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงพระคุณ พระแม่คงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาประมาณ ๗๐๐ ปี และได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้

          ประเพณีลอยกระทง (Loy Krathong Festival) มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย

สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้

๑. เพื่อขอขมาพระแม่คงคาเพราะได้อาศัยน้ำท่านกินและใช้ อีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำ  
     ด้วย
๒. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานทีซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำ  
     นัมมทานที ในประเทศอินเดีย
๓. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
๔. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูป
     หนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้

 

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ

          ไม่ว่าค่ำคืนนี้จะมีโปรแกรมไปลอยกระทงที่ไหน หรือไปกับใคร...แต่ก็อย่าลืมเรื่องความปลอดภัยนะครับ โดยเฉพาะปีนี้ คสช.ออกคำสั่งห้ามจำหน่าย เล่น หรือปล่อยโคมลอย ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ตั้งแต่เวลา 18.00 - 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ในเขตพระราชวัง วัด สถานที่สำคัญ โบราณสถาน สถานที่ราชการ สถานที่จัดงานลอยกระทง สนามบิน และอาคารสูง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขอให้ลอยกระทงกันอย่างมีความสุขนะครับ.

 

ขอบคุณภาพจาก : http://www.mcot.net/

 

Free Site Counters
ผู้ชม