*** หมายเหตุ : ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ ตามหลักเกณฑ์ สคบ.กำหนดให้ร้านทองสามารถหักได้ไม่เกิน 5% จากราคาทองคำแท่งรับซื้อในวันนั้น ๆ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้เฉพาะกรณีซื้อ-ขายร้านเดิมเท่านั้น ***

อัญมณีและเครื่องประดับไทยส่งขายอาเซียน เสรีและปลอดภาษีจริงหรือ!!!

ณ วันที่ 08/07/2559

    นับตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2015 สมาชิก 10 ประเทศใน อาเซียนได้หลอมรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างสมบูรณ์ โดยมี เป้าหมายหลัก 4 ประการตาม AEC Blueprint 2015 ได้แก่ (1) การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว ที่ให้มีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ รวมถึงเงิน ทุนได้อย่างเสรีมากขึ้น (2) การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่มีความ สามารถในการแข่งขันสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน (3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่าง เสมอภาค มีความเท่าเทียมกัน สนับสนุนและพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และลดช่องว่างระดับการพัฒนา ระหว่างประเทศสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่า และ (4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบาย เศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค

    โดยปัจจุบัน ในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่อง ประดับมีความเกี่ยวข้องกับบริบทข้างต้นอย่างชัดเจนใน 2 ประเด็นคือ “การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน” กล่าวคือ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายใน ตลาดอาเซียน ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 622 ล้านคน ซึ่งคิด เป็นสัดส่วนราวร้อยละ 9 ของประชากรโลกได้อย่างเสรีมากขึ้น โดยประเทศไทย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ได้ลดภาษีการนำเข้าสินค้านี้จากประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นศูนย์ไปตั้งแต่ปี 2010 ก่อนที่กลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม จะได้ลดภาษีการนำเข้า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นศูนย์สำหรับสมาชิกอาเซียนลงเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2015 ขณะที่ “การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก” นั้น เพื่อให้เท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของโลกที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อาเซียนได้จัดทำเขตการค้าเสรีและสร้างเครือข่ายการผลิตและจำหน่าย ผ่านการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจาในปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วยจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ASEAN+6”  โดยทั่งกลุ่มมี จำนวนประชากรมากถึง 3,470 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนราว ร้อยละ 48 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งโลก อีกทั้งชนชั้นกลางในประเทศกลุ่มนี้ (อาเซียน จีน อินเดีย) กำลังเพิ่มจำนวน และกำลังซื้อขึ้นเรื่อยๆ ตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจ จึงนับ เป็นหนึ่งในช่องทางสำคัญที่ช่วยขยายโอกาสทางการค้าให้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย

    อย่างไรก็ตาม แม้จะทราบกันดีว่า AEC ได้เริ่มต้นขึ้นอย่าง เต็มรูปแบบแล้วตั้งแต่เมื่อธันวาคมที่ผ่านมา และโดยทั่วไป มักเข้าใจกันว่าการส่งสินค้าไปจำหน่ายระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นไปโดยเสรี ปราศจากข้อกีดกันทางการค้าใดๆ นั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ยังคงมีกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติ อีกมากมายที่ผู้ส่งออกไทยต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก การรวมกลุ่มนี้ได้อย่างเต็มที่

กฎแหล่งกำเนิดสินค้า

    หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก็คือ การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามกรอบข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ในการส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าข้อใดข้อหนึ่งจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่ว่าจะเป็น

1. สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained) หรือ

2. มีกระบวนการผลิตที่ผ่านการแปรสภาพอย่างเพียงพอใน ประเทศตามเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด (Change in Tariff  Classification) ในระดับ 4 หลัก หรือ

3. มีการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาคทั้งไทยและอาเซียน (Regional Value Content: RVC) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่า FOB ที่ส่งออกจากไทย หรือกฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules) สำหรับสินค้าบางรายการที่มีรายละเอียดระบุไว้ต่างหาก

    กรณีอัญมณีและเครื่องประดับมีสินค้าที่ถูกจัดให้อยู่ใน กฎเฉพาะรายสินค้ารวมทั้งสิ้น 25 รายการ ที่ผู้ส่งออกจะต้อง ปฏิบัติตาม อาทิ ไข่มุกธรรมชาติในพิกัดศุลกากร 7101.10 ระบุ ว่าจะต้องได้มาหรือผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศผู้ส่งออก ทั้งหมด หรือกรณีของเครื่องประดับเงินในพิกัด 7113.11 จะต้อง มีสัดส่วนของวัตถุดิบที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศสมาชิกนั้นไม่ น้อยกว่าร้อยละ 40 หรือผ่านกระบวนการแปรสภาพโดยเปลี่ยน พิกัดฯ ในระดับ 6 หลัก เป็นต้น

    นอกจากนี้ ในการส่งสินค้าไปยังตลาดอาเซียนและต้องการ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวข้างต้นจะต้องนำหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า “ฟอร์มดี” (Form D) ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้ ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า หรือใช้วิธีรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification) ภายใต้ ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) โดยผู้ส่งออกที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็น “Certified Exporter” สามารถทำการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง ลงบนใบกำกับราคาสินค้า (Invoice) หรือบนเอกสารอื่นๆ ตามกำหนด

ที่มา : Gold Article วารสารทองคำ ฉบับที่ 49 เดือน มีนาคม - พฤษภาคม 2559