*** หมายเหตุ : ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ ตามหลักเกณฑ์ สคบ.กำหนดให้ร้านทองสามารถหักได้ไม่เกิน 5% จากราคาทองคำแท่งรับซื้อในวันนั้น ๆ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้เฉพาะกรณีซื้อ-ขายร้านเดิมเท่านั้น ***

ตลาดเครื่องประดับของประเทศจีนเป็นอย่างไร?

ณ วันที่ 03/04/2558

HTML Editor - Full Version

      ทางตะวันออกของถนนหนานจิง กรุงเซี่ยงไฮ้ มีห้างสรรพสินค้าที่มีการขายทองคำซึ่งได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในประเทศจีน ทองคำถือว่าเป็นของขวัญที่น่าตื่นเต้น และหลายๆคนต้องการ และยังมีความเชื่อที่ว่าจะนำพาความโชคดีมาให้

    ที่ประเทศจีน มักจะมีการมอบทองคำเป็นของขวัญให้กับเด็กๆในครอบครัวในโอกาสพิเศษต่างๆ เปรียบเสมือนกับเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่ง ร่ำรวย ดั่งสำนวนที่ว่า “คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด” โดยจะเป็นประเพณีการมอบทองให้กับทารกแรกเกิด ด้วยสร้อยคอทองคำหรือกำไลข้อมือเล็กๆ ซึ่งจะมีการซื้อขายกันเป็นอย่างมากในช่วงตรุษจีน เครื่องประดับอันแสนหรูหรานี้เป็นทองคำ 24k (99.99%) ที่มักจะใช้ในรูปแบบของสัญลักษณ์จักรราศี เช่น มังกร งู เสือ และม้า เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้ผู้คนก็ยอมที่จะเสียเงินลงทุนตราบเท่าที่ทองคำยังคงความงามไว้อยู่

    ทองคำ ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์กาล – ค.ศ 220) แต่ด้วยการเข้ามาของศาสนาพุทธมากขึ้นจนทำให้ในช่วงราชวงศ์ที่ 6 (ค.ศ. 222 - 589) ได้มีการครอบครองทองคำอย่างแพร่หลายนอกราชสำนัก เนื่องจากการนำทองคำของเหล่าผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนั้นมาร่วมกันสร้างพุทธบูชาทองคำต่างๆขึ้น เช่น เจดีย์ทองคำ และพระพุทธรูปทองคำ เป็นต้น

     ปัจจุบัน จีนเป็นตลาดเครื่องประดับทองคำที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากการที่เศรษฐกิจภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยชาวจีนมองว่าการซื้อเครื่องประดับทองคำแสดงให้เห็นถึงการมองการณ์ไกลทางการเงิน และเชื่อว่าจะนำความโชคดีมาให้ ทาง เวิลด์ โกลด์ เค้าน์ซิล แสดงผลวิจัยว่า 82 % ของชาวจีน เห็นด้วยที่ว่า “เครื่องประดับทองคำ มีผลอย่างมากต่ออุตสาหกรรมแฟชั่น” ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยว่าผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่ ยังคงซื้อเครื่องประดับทองคำ 24k (99.99%) ทำให้การซื้อสินค้าของพวกเขามีมูลค่าทางการเงินที่ยั่งยืนมากขึ้น

      โดยมองว่าในระยะยาวทองคำสามารถที่จะเพิ่มมูลค่าได้เสมอ หมายความว่า เมื่อราคาทองคำลดลง ก็มักจะเห็นเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ มุมมองนี้เห็นได้ชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิในปี 2013 เมื่อคิวการสั่งซื้อที่ยาวเหยียดจนทำให้เกิดความวุ่นวายตามเคาน์เตอร์เครื่องประดับในห้างสรรพสินค้า บางร้านในฮ่องกงก็ถึงกับได้รับการสั่งซื้อจากลูกค้าจำนวนมาก จนไม่สามารถจัดการกับลูกค้าที่มายืนแออัดกันอยู่ที่หน้าร้านได้ก่อนที่สินค้าจะขายหมด

    ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของจีนที่กำลังเติบโตอยู่นั้น ทำให้เพิ่มความสามารถในการซื้อและการครอบครองเครื่องประดับทองคำที่สวยงามเหล่านี้ ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายที่ผ่านมานั้นประชากรรุ่นใหม่ๆของจีนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละรุ่น ได้ทำให้ทองคำกลายเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน รวมไปถึงการมองหาความแปลกใหม่และความทันสมัยในการออกแบบที่โดดเด่นเป็นรูปแบบเฉพาะของจีนเอง ความจริงแล้วการซื้อหาทองคำช่วงแรกๆของประเทศจีนก็เป็นคนรุ่นใหม่ทั้งนั้น ทำให้ในตอนนี้กลุ่มคนเหล่านี้มีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญมากขึ้นในตลาดทองคำรวมถึงสินค้าที่มีความหรูหรา และดูเหมือนว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนของความต้องการของเครื่องประดับที่เป็นทองคำเพิ่มขึ้นในแต่ละปีอีกด้วย

ที่มา : สมาพันธ์ทองคำโลก (World Gold Council) www.gold.org

แปลและเรียบเรียงโดย : พลวัตร สารวิทย์ สมาคมค้าทองคำ

ขอบคุณภาพจาก : themillenniumreport.com
www.chinadaily.com.cn
www.bloomberg.com
goldsilver.com

 

Hit Counter
ผู้ชม